หลังจากเปลี่ยนมาใช้ได้ซักพัก รู้สึกดีกับดิสโทรนี้มากเหมือนกันแฮะ เสียแต่ว่าไม่มีเอกสารเรื่องการตั้งค่าภาษาไทย แถม locale ของ glibc ก็ดันอยู่แยกกันต้องลงต่างหากอีกที ปล้ำกับเรื่อง locale อยู่นานมากแต่พอลงครบแล้วปรากฏว่าตั้งภาษาไทยง่ายกว่าที่คิดเยอะเลยแฮะ ใช้เครื่องมือเปลี่ยน locale ชื่อ localedrake (เข้าใจว่าคงมาจาก mandrake) แล้ว KDE อ่านภาษาไทยได้ทันที ตอนนี้กำลังหาอยู่ว่า locale ของ GTK มันไปซ่อนอยู่ที่ไหน -_-' นอกจากนี้มันก็แยก package เป็นโปรแกรมกับ โปรแกรม-devel (ไม่ชอบก็ตรงนี้แหละ มันลำบากเวลาจะคอมไพล์โปรแกรมต้องตามหาชุด -devel มาให้ครบ)
แต่เอาเหอะ หลังจากลงเสร็จแล้วก็ apt-get dist-upgrade เรียบร้อยบวกกับลง libthai, pango-libthai แล้วก็ได้ KDE 3.5.2 มาใช้ ลองใช้ดูค่อนข้างประทับใจ ยกเว้นว่า Konqueror กับพวก editor ที่อยู่ใน kdebase เกิดอาการแข็งตัว (freeze) กระจาย ขนาดจะเข้า thailinuxcafe webboard ยังแข็งเลย... (ไม่รู้ว่าบักที่ไหน คาดว่าจะเป็นที่การคอมไพล์ package ของ PCLOS เองมั้ง ไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นแบบนี้บ้างหรือเปล่า) เอาละ ก็เลยต้องกลับมาใช้หมาย่าง(Firefox -- แต่จริงๆ มันเป็นแพนดาแดงนะ)ซึ่งทาง PCLOS เตรียม 1.5.0.1 มาให้แต่ก็แน่นอนว่ามันไม่สามารถตัดคำไทยแบบ out of the box เหมือน Ubuntu (อิจฉาเล็กๆ) ก็เลยต้อง build ใหม่เองรวมกับ patch libthai ใช้เวลา 45 นาทีก็ได้ FF 1.5.0.1 ตัดคำไทยด้วย libthai ออกมาใช้ (ยังคงมีบักแบบเดิมนะครับ เคอร์เซอร์ใน text edit area กระโดด แล้วก็มีตัวอักษรแปลกๆ เหมือนเป็น newline character โผล่ออกมา) แล้วก็ทำการปรับแต่ง script สำหรับเรียก firefox อีกนิดหน่อยได้แก่ path สำหรับเรียกโปรแกรมและปลักอินก็เรียบร้อย (ขี้เกียจลงปลักอินใหม่ ของ PCLOS ให้มาหมดแล้วดีจัง :D)
เนื่องจาก PCLOS ท่านสร้าง Kmenu ของท่านเอง ทำให้ผมหาอะไรไม่ค่อยจะเจอว่ามันเอาไปเก็บไว้ที่ไหนฟระ กว่าจะหาเจอนี่แทบแย่ ไล่ดูมันทีละเมนู ไอ้พวกโปรแกรมที่มันพื้นฐานก็หาเจอหรอก แต่โปรแกรมเฉพาะบางอย่างนี่ดันเอาไปเก็บไว้ผิดที่ ตัวอย่างเช่น KBabel ที่เอาไว้แปลไฟล์ .po ซึ่งปกติ KDE จะรวมมาไว้ที่ kdevelop (เพราะมันเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชัน) แต่พี่ท่านดันเอาไปไว้ที่ Office>Accessories กรูละงง หรือพวกโปรแกรมกราฟิก ท่านเอาไปรวมกับ Multimedia เล่นเอาหาไม่เจอเลย หรือ Super Karamba ท่านเอาไปไว้ที่ Monitor คือก็เข่้าใจว่า theme ส่วนใหญ่ที่มีคนเขียนขึ้นมาเนี่ย มันเอาไว้ monitor ระบบ แต่ KDE ก็จัดมันไว้ที่ kdeutils สรุปว่า หาไม่เจอ ก็ต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยพักใหญ่เหมือนกัน อีกเรื่องคือ เดี๋ยวนี้เขาไม่ build kdebase โดย enable samba กันแล้วเหรอ? ตอนยังใช้ Yoper มัน Access เครื่องวินโดวส์ในบ้านโดยผ่าน Konqueror ได้เลย อะ เดี๋ยวนี้ต้องเข้าผ่าน smb4k เห็นมาหลายดิสโทรแล้ว แล้วก็ browse LAN ไม่ได้เพราะไม่ได้เปิด lisa
แต่ส่วนที่ชอบนี่มีเยอะ
- สวยดี มี kwin, style builtin มาให้เลือกแต่งเยอะ มีกระทั่ง Baghira
- ให้ plugins ของ Firefox มาพร้อม ไม่ต้องไปตามโหลดมาใส่เอง (ไม่รู้จะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์หรือเปล่า)
- Multimedia พร้อม -- เล่น MP3, Ogg, m4a (AAC) ที่แปลงมาจาก iTunes, DVD, VCD ฯลฯ ได้ทันทีโดยไม่ต้องไปตามหาตัว codec มาลงเองเหมือนบางดิสโทร
- upgrade package ง่ายผ่าน apt (อันนี้ไม่มีอะไรใหม่ หลายดิสโทรก็ใช้)
- ชอบ YaKuake terminal emulator จัง มันเปิดหน้า terminal เหมือนเปิด console ในเกมส์พวก Half-Life หรือ Quake อะ เปิดหน้าลงมาหรือหดกลับขึ้นไปด้วย F12
- เข้าไปที่ partition ของวินโดวส์ได้โดยเป็น user ธรรมดา (แต่กลุ่ม root) แล้วก็อ่านภาษาไทยออกด้วย T^T ดีจัง (ตอนใช้ Yoper ต้องเป็น root ไม่งั้นเข้าไม่ได้)
- เปลี่ยน bootsplash ได้ง่ายนิดเดียว
- ชอบ KDE splash theme ที่ให้มาจัง เป็นรูปตรวจสอบลายนิ้วมืออะ ชื่อ FingerPrint
จบแล้ว คราวหน้ามา hack หน้า about: กับ about/credits dialog ของ FF กันดีกว่า ฮี่ๆ
4 comments:
ดาวน์โหลดแล้ว burn แล้ว boot แล้ว ถอดใจแล้ว เรียบร้อย -_-"
ไหงงั้นล่ะครับ sync out of range เหรอ
Update:
ทำยังไงก็ตั้ง locale ของ gtk ไม่ได้ซักที ทั้งที่ใน package มันก็บอกว่าให้มา (พวกไฟล์ gtk20.mo น่ะ) แต่พอเข้าไปหาจริงๆ กลับไม่เจอะ
สรุป ไปโหลด source gtk+2.0-2.8.9 มาแล้ว make install ในส่วนของ po กับ po-properties เข้าไป ตอนนี้ gtk ใช้ภาษาไทยได้เรียบร้อย :D
update อีกที:
เพิ่ง build หมาย่าง 1.5.0.2 (จุดเยอะจังว้อย) เสร็จหมาดๆ เมื่อคืน
Post a Comment